วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


ภูมิปัญญาท้องถิ่น




การทอผ้า

การทอผ้าถือเป็นอัตลักษณ์ของผู้หญิงปกากะญอและโพล่ว ในอดีตพวกเขาต้องทำการผลิตเครื่องนุ่งห่มด้วยฝ้ายที่ถูกเองในไร่ข้าว แต่ปัจจุบันในบางครอบครัวเริ่มทอผ้าไม่ได้ จากการให้บริจาคเสื้อผ้าและซื้อหาจากเมือง

การกะขนาด

การทอผ้าของกะเหรี่ยงก่อนที่จะขึ้นเครื่องทอ จำเป็นจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการทอ ก่อนว่าจะทอเพื่อใช้ทำอะไร เช่น ทอย่าม ทอเสื้อ ทอผ้าถุง ฯลฯ และต้องกำหนดขนาดไปพร้อมกันด้วย ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะของเครื่องนุ่งห่มของชนเผ่ากะเหรี่ยง เป็นการนำผ้าแต่ละชิ้นมาเย็บประกอบกัน โดยไม่การตัด (ยกเว้นความยาว) ดังนั้นการทอผ้าแต่ละครั้งจึงต้องกะให้ได้ขนาดที่จะนำมาเย็บ แล้วสวมได้พอดีตัว กะเหรี่ยงไม่มีเครื่องมือที่ใช้เป็นมาตรฐานในการวัด จึงต้องใช้วิธีกะประมาณ โดยอาคัยความเคยชิน การกะขนาดของผ้าที่จะทอแต่ละครั้ง ผู้ทอจะยึดรูปร่างของตนเป็นมาตรฐานว่า เมื่อขึ้นเครื่องทอเพื่อทอเสื้อของตนต้องเรียงด้ายสูงประมาณเท่าไหร่ของไม้ที่เสียบบน " แท แบร อะ" หรือไม้ขึ้นเครื่องทอ เช่นประมาณว่า "ครึ่งไม้" หรือ "ค่อนไม้" เป็นต้น ฉะนั้นเมื่อต้องทอให้ผู้อื่นจึงต้องเพิ่ม หรือลดขนาดของด้ายลง โดยอาศัยการเปรียบเทียบจากรูปร่างของผู้ทอดังกล่าว ปกติแล้วความกว้างของผ้าที่ทอได้มีขนาดเพียง 1 ใน 4 ของรอบอก ผู้สวมใส่ อย่างหลวม ๆ ถ้าทอผ้าห่มความกว้างอาจเท่ากับ 1/2 หรือ 1/3 ของความกว้างที่ต้องการก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปประกอบเป็นเครื่องนุ่งห่ม เช่น ผืนผ้าที่ทอจะเท่ากัน 4 เท่าของความยาวแท้จริงของเสื้อ หรือชุดยาวก็จะทอผ้าขนาดเดียวกัน คือ 2 ผืน โดยแต่ละผืนมีความยาว 2 เท่าของความยาวที่แท้จริง เป็นต้น เครื่องทอผ้าไม่มีหลักฐานที่แสดงว่า แต่เดิมรูปแบบของการทอผ้าของกะเหรี่ยงเป็นแบบใด แต่เท่าที่ปรากฏให้เห็นมาจนถึงปัจจุบัน พบว่าเป็นแบบทอมัดเอว หรือห้างหลังเช่นเดียวกับการทอผ้าของละวะ และะลาหู่ ซึ่งลักษณะการทอผ้านี้คล้ายของชาวเปรูสมัยโบราณ ชนเผ่าแถบกัวเตมาลา ฟิลิปปินส์ และแมกซิโก ก็พบว่ามีการทอผ้าด้วยเครื่องทอแบบห้างหลังเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น