ห้องสมุดประชาชนอำเภออุ้มผาง เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2538 ขณะนั้นมีนายชูชาติ เหลี่ยมวานิช ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดตาก และมี นายกรวุฒิ เกิดนาวี เป็นหัวหน้าศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภออุ้มผาง โดยได้รับอนุญาตการใช้ที่ดินจากสุขาภิบาลตำบลอุ้มผาง ให้ใช้ที่ดินสาธารณะเป็นสถานที่ก่อสร้าง โดยมีนายปรีชา อินทรวงษ์ อาจารย์โรงเรียนบ้านปะหละทะ และเป็นครูประจำกลุ่ม การศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญวิธีเรียนทางไกลในขณะนั้นเป็นผู้ติดต่อประสานงานจัดหาที่ดินแปลงนี้ เพื่อเป็นที่ก่อสร้างห้องสมุดประชาชนอำเภออุ้มผางไว้ใช้บริการประชาชน เพื่อเป็นรากฐานการจัดกิจกรรมการส่งเสริม สนับสนุน การศึกษานอกโรงเรียนจนถึงปัจจุบัน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านหลังท่าเดินรถอำเภออุ้มผาง ด้านข้างตรงข้ามศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านอุ้มผาง หมู่ที่ 1 บ้านอุ้มผาง ตำบลอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก บรรณารักษ์คนแรกของห้องสมุดประชาชนอำเภออุ้มผาง คือ นางสาวเกษร พุดตานดง
ห้องสมุดประชาชนอำเภออุ้มผาง เป็นห้องสมุดขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวตั้งอยู่ที่ ถนนราษฎ์พัฒนา หมู่ที่ 1 บ้านอุ้มผาง ตำบลอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก จัดให้บริการหนังสือและสื่อความรู้ประเภทต่างๆ จดมุมหนเด็กและครอบครัว มุมวารสาร มุมหนังสือพิมพ์ มุมการศึกษานอกโรงเรียนและหนังสือวิชาการ สารคดีทั่วไป รวมทั้งหนังสืออ้างอิง เป็นต้น จากการพัฒนาห้องสมุดต่อเนื่องทั้งการให้บริการด้านสื่อ การจัดกิจกรรม โดยการจัดกิจกรรมเชิงรุก ทำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการศึกษา ทั้งในระบบและการศึกษานอกระบบแบะการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ไม่มีขอบเขตจำกัด สามารถศึกษาได้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาบุคคลและสังคมให้มีความเอื้ออาทรต่อกัน มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้และทักษะที่จะนำไปประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
สภาพปัจจุบัน
ห้องสมุดประชาชนอำเภออุ้มผางอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอชายแดน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทย ภูเขาเผ่ากระเหรี่ยง การประกอบอาชีพส่วนใหญ่ ทำการเกษตร การดำเนินงานของห้องสมุดเปิดให้บริการเกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกโรงเรียนทั้ง การจัดการศึกสายสามัญ การศึกษาสายอาชีพ และการศึกษาตาอัธยาศัย มุ่งเน้นพัฒนารูปแบบของจัดบริการทางการศึกษาที่เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของกลุ่มเป้าหมายและเพื่อให้เป็น ผู้ที่สนใจใฝ่ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตโดยการจัดบริการด้านการสื่อการเรียนการสอน และการสืบค้นข้อมูลด้วยหนังสือ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย